นิตยสาร สังคมผู้สูงอายุไทยและสากล.

นิตยสาร สังคมผู้สูงอายุไทยและสากล. สังคมผู้สูงอายุ Posted on January 4, 2022 by futuristnida สังคมที่ประชากรกลุ่มใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งขณะนี้ทั่วโลกกำลังก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุในอัตราที่ต่างกัน โดย (“วารสารข้าราชการ,” 2561, pp. 5–6) แนวโน้มในอนาคต ▪ ภายใน 20 ปี (ปี ค.ศ. 2040) ทวีปเอเชีย อเมริกาเหนือ และยุโรปจะมีมีผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไปเป็นร้อยละ 15, 22 และร้อยละ 26 ตามลำดับ ซึ่งถือเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Chittinandana et al., 2017) และประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีโอกาสเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุก่อนประเทศที่กำลังพัฒนา (United Nations et al., 2020) ▪ ปี 2021 ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ โดยมีผู้สูงอายุ 20% ของประชากรทั้งหมด (“วารสารข้าราชการ,” 2561) ▪ มีแนวโน้มว่าผู้สูงอายุจะสามารถพึ่งพาตัวเองได้ เช่นในประเทศแถบยุโรปและสหรัฐอเมริกาพบว่าผู้สูงอายุจำนวนมากสามารถอยู่คนเดียวได้ โดยมีความมั่นคงและอิสระทางการเงิน (United Nations et al., 2020, pp. 7–9) ▪ ผู้สูงอายุในประเทศกำลังพัฒนาจะมีความเปราะบางมากกว่า และยังต้องพึ่งพาความช่วยเหลือด้านการเงินและเรื่องอื่น ๆ จากลูกหลานและญาติตามรายงานจาก UN เช่น ประเทศไทย โดยพบว่าประชากรสูงอายุกว่า 80% มีรายได้ระดับกลางค่อนไปทางต่ำ จึงต้องพึ่งพาความช่วยเหลือทางการเงินจากลูกหลานและญาติ (BrandInside Admin, 2021) ผลกระทบต่อประเทศไทย ▪ เศรษฐกิจชะลอตัวเพราะจำนวนประชากรและแรงงานของภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ลดลง โดยเฉพาะประเทศไทยที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในอัตราเร็วกว่าประเทศส่วนใหญ่ในอาเซียน จึงเป็นแรงกดดันต่อเศรษฐกิจไทยและทำให้ไทยต้องพึ่งพาแรงงานจากต่างประเทศ ▪ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุขยายตัว เช่น บริการดูแลผู้สูงอายุ ธุรกิจด้านสุขภาพ อุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ ▪ มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในระบบสาธารณสุข เช่น Telemedicine (โทรเวชกรรม) ▪ รัฐจะต้องจัดสรรงบประมาณเป็นสวัสดิการผู้สู้อายุและปรับปรุงระบบสาธารณสุขให้รองรับกับจำนวนผู้สูงอายุที่มากขึ้น พร้อมทั้งเตรียมการรับการขาดแคลนบุคลากร คาดว่าภายในปี 2035 จำนวนบุคลากรทางการแพทย์ทั่วโลกจะน้อยกว่าความต้องการถึง 12.9 ล้านคน (Sadler, 2019) ▪ รัฐออกนโยบายส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพให้ผู้สูงอายุยังคงเป็นส่วนหนึ่งของตลาดแรงงาน เช่นในสหรัฐอเมริกา ผู้สูงอายุที่อายุ 55 ปีขึ้นไปกว่า 70% ยังคงทำงาน ไม่ว่าจะเป็นงานอาสากับชุมชน งานอาสากับ NGOs (Bernell et al., 2003, p. 10) ซึ่งตอนนี้ไทยก็กำลังพิจารณาขยายอายุเกษียณของข้าราชการเป็น 63 ปี ▪ มีแนวโน้มที่ปัญหาสุขภาพจิตในประชากรสูงอายุจะเพิ่มขึ้น โดยการสำรวจสถานการณ์ผู้สูงอายุปี พ.ศ. 2559 พบว่าผู้สูงอายุถึง 1 ใน 3 เป็นกลุ่มที่มีความเปราะบางจากความไม่มั่นคงทางการเงินและการต้องอยู่โดดเดี่ยว ปัจจัยเหล่านี้อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุได้ (มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย, 2560)
นิตยสาร สังคมผู้สูงอายุไทยและสากล.

ความคิดเห็น